โครงการเผยแพร่ความรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ประจำปี พ.ศ.2567

|

วามรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ประจำปี พ.ศ.2567
ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2567
ประชาสัมพันธ์ เรื่อง โรคหัวใจในผู้สูงอายุ
โรคหัวใจในผู้สูงอายุ
โรคหัวใจ เป็นโรคที่พบได้บ่อยและยังเป็นโรคที่เป็นสาเหตุทำให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ในทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะโรคหัวใจในผู้สูงวัย ต้องสังเกตสัญญานเตือนของโรค มักจะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรงรู้สึกหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ต้องหนุนหมอนสูง แน่นหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม กรณีสูงวัยมาก ๆ อาการอ่อนเพลีย เวียนหัว เบื่ออาหารที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน อาจเป็นอาการจากโรคหัวใจได้เช่นกัน โรคหัวใจที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ

  1. โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากไขมันและเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น ทำให้หลอดเลือดมีการตีบแคบลง ทำให้เลือดซึ่งนำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง ส่งผลให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  2. โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ มักเกิดจากความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกาย ทำให้มีหินปูนจับที่ลิ้นหัวใจจนลิ้นหัวใจหนาขึ้นและเปิดได้น้อยลง โรคนี้จึงพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
  3. โรคหัวใจสั่นพริ้ว เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหนึ่ง คือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มีทั้งเต้นช้า เต้นเร็ว และเต้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลง Atrial Fibrillation (AF) เป็นอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุด ถึงแม้ไม่ทำให้เสียชีวิตแต่อาจนำมาซึ่งภาวะรุนแรงมากขึ้น เช่น เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดอื่น ทำให้อ่อนเพลียเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจล้มเหลว
  4. ภาวะใจเต้นช้า จากตัวกำหนดการเต้นของหัวใจเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของหัวใจ ของผู้สูงอายุอาจมีอาการวูบ หวิว บางรายอาจเป็นลมหมดสติ
  5. หัวใจล้มเหลว ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือรับเลือด
    กลับสู่หัวใจได้ตามปกติ ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่พบมากคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
    เป็นสาเหตุใหญ่ที่พบบ่อยที่สุด นอกจากนี้ โรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ เช่นกัน 3อ. 3ย. เพื่อผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง
    3 อ. ได้แก่
    อ. 1) อาหาร
    อาหารดีสุขภาพดี เน้นทานปลา เนื้อไก่ ถั่ว เต้าหู้ จำกัดการทานเนื้อแดง ชีส หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม เบค่อน ไส้กรอก เป็นต้น ทานข้าวกล้อง ข้าวซ้อม มือข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮวีท จำกัดการทานข้าวขาว
    และขนมปังขาว ทานผักให้หลากหลายสีหลากหลายชนิด ทานผลไม้เป็นประจำจำกัดผลไม้ที่หวานจัด ใช้น้ำมันที่ดีปริมาณไม่มาก เช่น น้ำมันมะกอก คาโนล่า จำกัดการบริโภคเนย หลีกเลี่ยงเนยเทียมและน้ำมันทอดซ้ำ ดื่มน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟ (หวานน้อยหรือไม่หวานเลย) ดื่มนมไม่เกิน 1-2 แก้วต่อวัน,ดื่มน้ำผลไม้ไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน หลีกเลี่ยงน้ำหวาน ครีมเทียม และเครื่องดื่ม 3-in -1
    อ. 2) ออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน กายบริหาร ประมาน 150 นาทีต่อสัปดาห์
    อ. 3) อารมณ์และการพักผ่อน พบว่ามีผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวมีภาวะโรคซึมเศร้าซ่อนอยู่1 ใน 3 และ1 ใน 5 เป็นโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง ดังนั้นกายและใจต้องได้รับการรักษาไปพร้อมๆกัน และนอนหลับให้เพียงพอ
    3 ย. ได้แก่
    ย.1 อย่าสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้อายุสั้นลง 10 ปี หากสูบอยู่ต้องหยุดทันที โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ หากไม่หยุดสูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราการเสียชีวิตอย่างชัดเจน ทั้งนี้พบว่าหากสูบบุหรี่ในวัยหนุ่มสาวแล้วหยุดได้ 10-15ปี ร่างกายจะสามารถฟื้นฟูตัวเองใกล้เคียงกับคนที่ไม่เคยสูบมาก่อน
    ย.2 อย่าปล่อยให้อ้วน คนไทย 1 ใน 3 เป็นโรคอ้วน โรคอ้วนเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆมากมาย เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจ ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    ย.3 อย่าขาดยารักษาโรค หากมีโรคประจำตัวควรทานยาอย่างต่อเนื่อง ในผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรขาดยาโดยเด็ดขาด ติดตามรับชม โรคหัวใจในผู้สูงอายุได้

ที่มาข้อมูล : ข้อมูลโดย อ.นพ.ตุล ชัยกิจมงคล อายุรแพทย์โรคหัวใจ ประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มช.