โครงการ

|

โครงการเผยแพร่ความรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ประจำปี พ.ศ.2568
ประจำเดือน เมษายน พ.ศ.2568
ประชาสัมพันธ์ เรื่อง 10 วิธีเอาตัวรอดเมื่อเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหว
การเกิดแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดเดาและควบคุมได้ เกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกโดยฉับพลัน การระเบิดของภูเขาไฟ การยุบตัวของโพรงชั้นใต้ดิน
จนทำให้เกิดการสั่นสะเทือน จากการปลดปล่อยพลังงานเหล่านี้ เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ แม้ในครั้งอดีตการเกิดแผ่นดินไหวจะเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันมนุษย์อย่างเรานั้นก็เป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ จากการทดลองต่าง ๆ การทำระเบิด การขุดเขื่อนกักเก็บน้ำทำให้สภาพของเปลือกโลกที่เคยอุดมสมบูรณ์กลับถดถอยลงช้าๆจนส่งผลให้เกิดภัยพิบัติต่างๆตามมา
แม้ว่าแผ่นดินไหวอาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายคน เพราะประเทศไทยตั้งยู่บนพื้นที่เปลือกโลก
ที่มีรอยแยกเก่าที่ค่อนข้างมั่นคง มีแค่รอยเลื่อนเพียงเล็กน้อยและร่องรอยของภูเขาไฟที่ดับลงไปแล้ว
ทำให้แผ่นดินไหวในประเทศไทยค่อนข้างน้อยและเบาบางกว่าประเทศอื่นๆ แต่การเกิดแผ่นดินไหวนั้นเป็นเรื่อง
ที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้นเราควรต้องรับมือและรู้วิธีเอาตัวรอดไว้เมื่อเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหว
แนะนำ 10 วิธีเอาตัวรอดเมื่อเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหว

  1. เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว ควรตั้งสติให้มั่น พยายามควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ
  2. อย่าวิ่งหนีและวิ่งเข้าวิ่งออกไปมา ควรอยู่ภายในบ้านเพื่อหลบภัยจะดีที่สุด
  3. หาที่หลบภัยที่ปลอดภัยที่สุด ที่มีโครงสร้างแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักได้ ไม่ควรอยู่ใกล้ประตู หน้าต่าง ระเบียง เพราะอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้
  4. หากอยู่ข้างนอก พยายามหลีกหนีจากอาคารสูงให้เร็วที่สุด เพราะอาคารสามารถโค่นทับลงมาได้
  5. ควรอยู่ให้ห่างจากป้าย สะพาน เสาไฟฟ้า สิ่งของที่อยู่ที่สูงหรือห้อยแขวนลงมา รวมถึงท่อน้ำและหลุมต่าง ๆ
  6. อย่าจุดเทียน ไม้ขีดไฟ้ เพราะอาจมีแก๊สรั่วซึมอยู่แถวนั้น อาจก่อให้เกิดระเบิดและไฟไหม้ได้
  7. หยุดขับรถทันทีเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ให้ออกมานั่งหรือนอนข้างๆรถจนกว่าการสั่นจะหยุดลง
  8. อย่าใช้ลิฟต์เด็ดขาด เมื่ออยู่ในอาคารควรใช้บันไดฉุกเฉินจะดีที่สุด
  9. หากอยู่ใกล้กับชายหาด ควรรีบออกมาให้เร็วที่สุดเพราะอาจเกิดสึนามิได้
  10. แม้การสั่นจะหยุดลง แต่ควรระวัง After Shock ไว้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการสั่นสะเทือน
    รอบต่อ ๆ ไป

ที่มาข้อมูล : สสส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ