เรื่อง เผยแพร่ความรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ประจำปี พ.ศ.2567 ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2567 ประชาสัมพันธ์ เรื่อง โรค มือ เท้า ปาก (Hand, Foot, and Mouth Disease – HFMD)
โรค มือ เท้า ปาก (Hand, Foot, and Mouth Disease – HFMD) คือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส กลุ่มเอนเทอโร เชื้ออาจจะแพร่กระจายจากการติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพอง และแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการไอ จาม รดกัน จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคพบว่า อัตราการป่วยพบมากสุดในกลุ่มเด็กเล็กอายุ 0 – 4 ปี รองลงมา คือเด็กอายุ 5 – 9 ปี และยังพบได้บ่อยใน โรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่เล่นของเด็กในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในบริเวณที่อยู่ร่วมกันอย่างแออัด
จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคพบว่า อัตราการป่วยพบมากสุดในกลุ่มเด็กเล็กอายุ 0 – 4 ปี รองลงมา คือเด็กอายุ 5 – 9 ปี และยังพบได้บ่อยใน โรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่เล่นของเด็กในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในบริเวณที่อยู่ร่วมกันอย่างแออัด อาการของโรคมือ เท้า ปาก (หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย)
หากผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน จะมีอาการเจ็บปาก ร่วมกับมีตุ่มพองเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มแผลในปาก บริเวณเพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น และจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ
หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีไข้ขึ้นสูง ซึมลง เดินเซ ชัก เกร็ง หายใจหอบเหนื่อย อาเจียนมาก ต้องรีบไป พบแพทย์ทันที เพราะอาจติดเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ชนิดรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
การรักษาเบื้องต้น
สำหรับอาการไข้และความเจ็บปวดจากแผล สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานกลุ่มยาแก้ปวดลดไข้
การดูแลช่องปาก ให้ใช้น้ำเกลือบ้วนปากบ่อยๆ (จะสามารถใช้น้ำเกลืออุณหภูมิอุ่นๆ ในการบ้วนปาก ได้ต่อเมื่อเด็กโตพอที่จะบ้วนปากได้เองโดยไม่กลืนน้ำเกลือลงไป)
การรับประทานอาหาร ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่กลืนง่าย เช่น ซุป ข้าวต้ม มันบด ไอศกรีม หรือ โยเกิร์ต โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนจัด มีรสเปรี้ยว หรือมีรสเผ็ด
ป้องกันภาวะขาดน้ำ ด้วยการดื่มน้ำเปล่ามากๆ โดยควรดื่มน้ำทุกๆ ครึ่งชั่วโมง หรือบ่อยกว่านั้น เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
โรงเรียนและสถานศึกษาควรมีการคัดกรองเด็กทุกเช้าก่อนเข้าเรียน สอนให้เด็กล้างมือเป็นประจำ
สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้เด็กคนอื่นๆ
หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ เช่น ภาชนะใส่อาหาร ห้องน้ำ ของเล่นต่างๆ
ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการบุตรหลานอย่างใกล้ชิด และหลีกเลี่ยงการนำเด็กเล็กไปในสถานที่ที่มีคนแออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ สนามเด็กเล่น ตลาด ควรอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
“แค่ล้างมือให้สะอาด ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ได้ไม่ยาก และยังเป็นการลดการเกิดโรคติดต่อต่างๆ ได้อีกทางหนึ่ง”
ที่มาข้อมูล : ฝ่ายประกันสุขภาพ เอไอเอ ประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
Post Views: 45