โครงการเผยแพร่ความรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ประจำปี พ.ศ.2568ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ.2568

|

โครงการเผยแพร่ความรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ประจำปี พ.ศ.2568
ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ.2568
ประชาสัมพันธ์ เรื่อง โรคในเด็กที่พบได้บ่อยช่วงเปิดเทอม

  1. โรคมือ เท้า ปาก
    อาการ : มีตุ่มพอง ผื่นหรือแผลอักเสบบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และภายในปาก มีไข้สูง ไอ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลียในเด็กเล็กจะมีอาการงอแงไม่สบายตัว หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายใด อาการป่วยจะเบาลง และหายไปในระยะเวลาประมาณ 10 วัน หากมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ซึมลง ปวดศีรษะมาก ปวดต้นคอ เพ้อ ควรพบแพทย์ทันที
    การป้องกัน : หลีกเลี่ยงการคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย ควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหาร ไม่ใช้สิ่งของหรือภาชนะร่วมกับผู้อื่น
  2. ไข้หวัดใหญ่
    อาการ : คล้ายไข้หวัดธรรมดา มีไข้ ตัวร้อน น้ำมูกไหล แต่มีความรุนแรงและมีโอกาสพัฒนาสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ รักษาตามอาการไข้หวัด หรือในบางรายอาจได้รับยาต้านเชื้อไวรัสร่วมด้วย ควรพักฟื้นให้เพียงพอ เพราะร่างกายจะอ่อนเพลียและต้องการพักผ่อนมากกว่าปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้ คือ ภาวะขาดน้ำ การติดเชื้อแบคทีเรียในอวัยวะต่างๆ
    การป้องกัน : ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำทุกปี หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยและเสมหะของผู้ป่วย ล้างมือสม่ำเสมอ และสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน
  3. ไข้เลือดออก
    อาการของโรค : มักจะมีไข้สูงลอย (39-40 องศาเซลเซียส) 3-7 วัน หน้าแดง มีผื่นแดง ไม่ค่อยไอ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีภาวะเลือดออกง่าย หากมีอาการรุนแรงมักจะมีอาการปวดท้อง อาเจียน ไม่กินอาหารร่วมด้วย ถ้าเกิดในเด็กเล็กอาจมีไข้สูงและชักได้
    การป้องกันโรค : สามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด ติดมุ้งลวดประตูหน้าต่าง ใส่เสื้อผ้าแขนยาวขายาว และกำจัดแหล่งน้ำขังที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ โดยปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับวัคซีน
  4. โรค RSV
    อาการของโรค : มีไข้ ไอรุนแรง หายใจลำบาก หายใจเร็ว มีเสียงวี๊ด เสมหะมาก ซึม กินอาหารได้น้อยลง
    การป้องกัน : หมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือให้คนแปลกหน้าจูบหรือหอมแก้มเด็กเล็ก ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ และดูแลอากาศในบ้านให้ปลอดโปร่ง

ที่มา: กรมการแพทย์ (โรงพยาบาลบางปะกอก 3)